การค้าระหว่างประเทศ
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (GATT)
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariffs and Trade) หรือ GATT คือ ข้อตกลงเกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการค้า โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศทั้งหลายตัดทอนข้อกีดขวางทางการค้าระหว่างกันให้น้อยลง โดยข้อตกลงนี้เป็น 1 ใน 3 เสาหลักที่ยู่ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO)ความเป็นมาแต่เดิมนั้น GATT เป็นข้อตกลงทางการค้าชั่วคราวในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีองค์การการค้าระหว่างประเทศ เรียกว่า ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1947 และมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1948 ซึ่ง GATT ได้จัดให้มีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายในรูปพหุภาคีเพื่อลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคทางการค้า รวม 8 รอบ ทั้งนี้ การเจรจารอบอุรุกวัยในปี 1986 เป็นรอบสำคัญ เพราะนอกจากจะมีการเจรจาลดภาษีและอุปสรรคทางการค้า เช่นเดียวกับการเจรจารอบอื่นๆ แล้ว ยังได้ขยายขอบเขตการเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้ทันต่อสภาวะการค้าโลก รวมทั้งได้ยกร่างกฎเกณฑ์การค้าให้ครอบคลุมในเรื่อง สินค้าเกษตร สิ่งทอ และเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีการเจรจา เช่น เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เรื่องมาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า เรื่องการค้าบริการ และการลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร ให้ประเทศสมาชิกได้ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการเจรจานานกว่า 7 ปี จึงจะบรรลุข้อตกลงเมื่อปี 1993 และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ประเทศสมาชิกของ GATT ที่เข้าร่วมเจรจาในขณะนั้นกว่า 120 ประเทศ ได้ตกลงที่จะยกฐานะ GATT ซึ่งเป็นเพียงข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศให้มีฐานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ และจัดตั้งองค์การการค้าโลกขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1995 เพื่อกำกับดูแลความตกลงต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการเจรจาเดิมให้บรรลุผล โดยข้อตกลง GATT นั้น ถือเป็นข้อตกลงเพื่อวางกรอบกติกาการปฏิบัติต่อกันในทางการค้าระหว่างประเทศ โดยมุ่งหมายให้แต่ละประเทศลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดการค้าโดยวิธีการต่างๆ เช่น การกำหนดโควต้าสินค้า หรือข้อห้ามอื่นๆ รวมทั้งการตั้งกำแพงภาษีรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยเสรี และมีความเท่าเทียมกัน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)
เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)
เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เอเปคก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยมีจุดประสงค์ มุ่งเน้นความเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค และผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่าย รอบอุรุกวัย ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกัน เอเปคก็ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป อีกด้วย
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA)
เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement : NAFTA)
เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้หลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ. 2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO)
เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ(UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 153 ประเทศ ประเทศล่าสุดที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคือหมู่เกาะ Cape Verde ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2008 มีงบประมาณปี พ.ศ. 2549 175 ล้านฟรังก์สวิส (5,170 ล้านบาท) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการ 635 คน เลขาธิการคนปัจจุบันชื่อนายปาสกัล ลามี สืบต่อจากนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก นายไมค์ มัวร์ อีกที
องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariffs and Trade) หรือ GATT คือ ข้อตกลงเกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการค้า โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศทั้งหลายตัดทอนข้อกีดขวางทางการค้าระหว่างกันให้น้อยลง โดยข้อตกลงนี้เป็น 1 ใน 3 เสาหลักที่ยู่ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO)ความเป็นมาแต่เดิมนั้น GATT เป็นข้อตกลงทางการค้าชั่วคราวในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีองค์การการค้าระหว่างประเทศ เรียกว่า ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1947 และมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1948 ซึ่ง GATT ได้จัดให้มีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายในรูปพหุภาคีเพื่อลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคทางการค้า รวม 8 รอบ ทั้งนี้ การเจรจารอบอุรุกวัยในปี 1986 เป็นรอบสำคัญ เพราะนอกจากจะมีการเจรจาลดภาษีและอุปสรรคทางการค้า เช่นเดียวกับการเจรจารอบอื่นๆ แล้ว ยังได้ขยายขอบเขตการเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้ทันต่อสภาวะการค้าโลก รวมทั้งได้ยกร่างกฎเกณฑ์การค้าให้ครอบคลุมในเรื่อง สินค้าเกษตร สิ่งทอ และเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีการเจรจา เช่น เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า เรื่องมาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า เรื่องการค้าบริการ และการลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร ให้ประเทศสมาชิกได้ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการเจรจานานกว่า 7 ปี จึงจะบรรลุข้อตกลงเมื่อปี 1993 และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ประเทศสมาชิกของ GATT ที่เข้าร่วมเจรจาในขณะนั้นกว่า 120 ประเทศ ได้ตกลงที่จะยกฐานะ GATT ซึ่งเป็นเพียงข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศให้มีฐานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ และจัดตั้งองค์การการค้าโลกขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1995 เพื่อกำกับดูแลความตกลงต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการเจรจาเดิมให้บรรลุผล โดยข้อตกลง GATT นั้น ถือเป็นข้อตกลงเพื่อวางกรอบกติกาการปฏิบัติต่อกันในทางการค้าระหว่างประเทศ โดยมุ่งหมายให้แต่ละประเทศลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดการค้าโดยวิธีการต่างๆ เช่น การกำหนดโควต้าสินค้า หรือข้อห้ามอื่นๆ รวมทั้งการตั้งกำแพงภาษีรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยเสรี และมีความเท่าเทียมกัน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)
เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)
เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เอเปคก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยมีจุดประสงค์ มุ่งเน้นความเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค และผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่าย รอบอุรุกวัย ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกัน เอเปคก็ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป อีกด้วย
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA)
เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement : NAFTA)
เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้หลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกได้จัดประชุมกันเมื่อ พ.ศ. 2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO)
เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ(UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 153 ประเทศ ประเทศล่าสุดที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคือหมู่เกาะ Cape Verde ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2008 มีงบประมาณปี พ.ศ. 2549 175 ล้านฟรังก์สวิส (5,170 ล้านบาท) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการ 635 คน เลขาธิการคนปัจจุบันชื่อนายปาสกัล ลามี สืบต่อจากนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก นายไมค์ มัวร์ อีกที
องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)
คำศัพท์ต่างประเทศ
Domestic Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดภายในประเทศ ระยะนี้ ถือเป็นระยะเริ่มแรกในการทำธุรกิจ โดยธุรกิจจะเริ่มจากการทำการตลาดภายในประเทศ โดยจะมีการศึกษาตลาด หาข้อมูลทางการตลาด จากข้อมูลภายในประเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ และ การวางแผนในการทำธุรกิจ
Export Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาจาก Domestic Marketing ซึ่งเมื่อธุรกิจได้มีการดำเนินธุรกิจในตลาดในประเทศไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะพบว่า ตลาดที่ทำอยู่ มีความแคบลง หรือ คู่แข่งมีมาก หรือ พอมองเห็นกำไรจากตลาดอื่นๆ และ อาจจะพบว่าคลังสินค้า มีสินค้าคงเหลืออยู่มากเกินไป เลยต้องหาตลาดใหม่ในการกระจายสินค้าบ้าง
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรค และ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด
Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ
ระยะนี้ เป็นระยะที่ พัฒนามาอีกขั้น จาก International Marketing คือเมื่อรับรู้ และ เข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค ความคล้ายคลึง หรือ ความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่งแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถสร้างผลประโยชน์เข้ามาสู่กิจการได้
Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโลก
ระยะนี้ เป็นระยะ ที่มีแนวความคิด ที่ได้เปรียบมาก จากเรื่องของทรัพยากร
Gross National Product (GNP) คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ คือ มูลค่าของสินค้า และ บริการ ขั้นสุดท้ายอันเกิดจาก การดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือ ธุรกิจ ประเทศนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ มูลค่า จากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ
Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่นๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่นๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และ บริการ หรือ ทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้า และ บริการ ให้สูงมากๆ
Acquisition
การขยายกิจการแบบเข้าไปซื้อ
Added valve
การเพิ่มมูลค่าในสินค้าและบริการจากกระบวนการผลิตหรือการกระจาย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังแรงงานเปลี่ยนแปลงวัตถุให้มีมูลค่าสูงขึ้น บางครั้งวัดด้วยส่วนต่างระหว่างรายได้ จากการขายและรายจ่ายของการลงทุนค่าวัตถุดิบและค่าแรง
Annual report
รายงานผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินขององค์กรธุรกิจประจำปีจากผู้อำนวยการบริษัทถึงผู้ถือหุ้น
Behavioral approach
ทฤษฎีการบริหารจัดการที่เน้นการพัฒนาประสิทธิภาพ
Benefit (in kind)
1) ผลประโยชน์หรือสวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง นอกเหนือจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง (fringe benefit)
2) ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการตกลงใจซื้อขายสินค้าใด สินค้าหนึ่ง เช่น การแจกแถม ให้สิทธิต่างๆ ในการซื้อสินค้า
Black Market
ตลาดมืด การซื้อขายสินค้านอกตลาดที่ควบคุมโดยรัฐบาลไม่ว่าเป็นการควบคุมราคาหรือควบคุมปริมาณ (การปันส่วน)
Blue-collar workers
คนงานที่ทำงานในกระบวนการผลิตโดยตรง เช่น คนงาน โรงงาน ซึ่งต่างกับ white-collar workers ซึ่งทำงานในสำนักงาน
Bottom up
ระบบการบริหารจัดการแบบให้คนงานจากข้างล่างสุดมีส่วนในการเสนอแนะว่าปรับปรุงงานอย่างไร แทนที่จะให้ผู้บริหารเป็น ผู้สั่งจากบนลงล่าง (to down) แบบเก่าวิธีนี้มักให้ผลดี เพราะคนงานจะเชื่อและอยากทำสิ่งที่ตัวเขาเองเสนอมากกว่าสิ่งที่เขาถูกสั่ง เป็นวิธีการที่ญี่ปุ่นใช้มากอย่างได้ผลและกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น แต่ผู้บริหารมักเคยชินกับวิธีการเก่าและไม่ยอมรับอย่างแท้จริง
Budget
งบประมาณ ประมาณการรายได้และรายจ่ายขององค์กรหรือประเทศสำหรับช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต เช่น งบประมาณปีถัดไป
Business cycle
วัฏจักรหรือวงจรทางธุรกิจ ช่วงที่เปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระหว่างช่วงธุรกิจที่เฟื่องฟูกับซบเซา
Capital budgeting
การวางแผนการลงทุนที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนในอนาคต
Capitalism
ระบบทุนนิยม ระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานอยู่ที่การที่เอกชนหรือนายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด โดยการแข่งขันกันในตลาดเสรี
Cash flow
กระแสเงินสด
1) การจัดหาเงินสดที่จำเป็นสำหรับการใช้จ่ายของบริษัทเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน
2) ผลการดำเนินงานของธุรกิจในรูปของเงินสด
Commerce
พาณิชยกรรม การค้าและบริหารที่เกี่ยวกับการค้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการค้าปลีก ค้าส่ง การส่งออกการธนาคารและการประกันภัย
Consumption
การบริโภค การใช้สินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของคน
Deflation
เงินฝืด การที่ระดับราคาของสินค้าโดยทั่วไปหรือปริมาณเงินหมุนเวียนการจับจ่ายใช้สอยลดลง ตรงข้ามกับคำว่า inflationราคาเฟ้อ หรือเงินเฟ้อ บางครั้งระดับราคาอาจไม่ได้ลดลงก็ได้แต่การเติบโตของเศรษฐกิจช้าลง เพราะมีปริมาณเงินหมุนเวียนและการจับจ่ายใช้สอยลดลง
Arab Common Market
1) ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการทำงาน เพื่อประกอบการตัดสินใจในอนาคต รวมทั้งเพื่อการแก้ไขปรับปรุง
2) การป้อนข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขหรือควบคุม
Franchise
การที่องค์การหนึ่งให้สิทธิผู้อื่นเป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการในท้องที่หนึ่งเพื่อผลตอบแทนในรูปค่าธรรมเนียมหรือการแบ่งปันผลกำไรกัน
Gross domestic product (GDP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ-มูลค่าสินค้าและบริการของประเทศที่ผลิตโดยผู้ประกอบการภายในประเทศ ไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ
Growth rate
อัตราเจริญเติบโต หรือการเพิ่มของผลผลิตในระบบเศรษฐกิจมักจะวัดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปีที่ผ่านมา
Joint venture
การลงทุนร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นไป
Investment
การลงทุน การนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่ม
Export Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาจาก Domestic Marketing ซึ่งเมื่อธุรกิจได้มีการดำเนินธุรกิจในตลาดในประเทศไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะพบว่า ตลาดที่ทำอยู่ มีความแคบลง หรือ คู่แข่งมีมาก หรือ พอมองเห็นกำไรจากตลาดอื่นๆ และ อาจจะพบว่าคลังสินค้า มีสินค้าคงเหลืออยู่มากเกินไป เลยต้องหาตลาดใหม่ในการกระจายสินค้าบ้าง
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรค และ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด
Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ
ระยะนี้ เป็นระยะที่ พัฒนามาอีกขั้น จาก International Marketing คือเมื่อรับรู้ และ เข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค ความคล้ายคลึง หรือ ความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่งแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถสร้างผลประโยชน์เข้ามาสู่กิจการได้
Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโลก
ระยะนี้ เป็นระยะ ที่มีแนวความคิด ที่ได้เปรียบมาก จากเรื่องของทรัพยากร
Gross National Product (GNP) คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ คือ มูลค่าของสินค้า และ บริการ ขั้นสุดท้ายอันเกิดจาก การดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือ ธุรกิจ ประเทศนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ มูลค่า จากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ
Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่นๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่นๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และ บริการ หรือ ทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้า และ บริการ ให้สูงมากๆ
Acquisition
การขยายกิจการแบบเข้าไปซื้อ
Added valve
การเพิ่มมูลค่าในสินค้าและบริการจากกระบวนการผลิตหรือการกระจาย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังแรงงานเปลี่ยนแปลงวัตถุให้มีมูลค่าสูงขึ้น บางครั้งวัดด้วยส่วนต่างระหว่างรายได้ จากการขายและรายจ่ายของการลงทุนค่าวัตถุดิบและค่าแรง
Annual report
รายงานผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินขององค์กรธุรกิจประจำปีจากผู้อำนวยการบริษัทถึงผู้ถือหุ้น
Behavioral approach
ทฤษฎีการบริหารจัดการที่เน้นการพัฒนาประสิทธิภาพ
Benefit (in kind)
1) ผลประโยชน์หรือสวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง นอกเหนือจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง (fringe benefit)
2) ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการตกลงใจซื้อขายสินค้าใด สินค้าหนึ่ง เช่น การแจกแถม ให้สิทธิต่างๆ ในการซื้อสินค้า
Black Market
ตลาดมืด การซื้อขายสินค้านอกตลาดที่ควบคุมโดยรัฐบาลไม่ว่าเป็นการควบคุมราคาหรือควบคุมปริมาณ (การปันส่วน)
Blue-collar workers
คนงานที่ทำงานในกระบวนการผลิตโดยตรง เช่น คนงาน โรงงาน ซึ่งต่างกับ white-collar workers ซึ่งทำงานในสำนักงาน
Bottom up
ระบบการบริหารจัดการแบบให้คนงานจากข้างล่างสุดมีส่วนในการเสนอแนะว่าปรับปรุงงานอย่างไร แทนที่จะให้ผู้บริหารเป็น ผู้สั่งจากบนลงล่าง (to down) แบบเก่าวิธีนี้มักให้ผลดี เพราะคนงานจะเชื่อและอยากทำสิ่งที่ตัวเขาเองเสนอมากกว่าสิ่งที่เขาถูกสั่ง เป็นวิธีการที่ญี่ปุ่นใช้มากอย่างได้ผลและกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น แต่ผู้บริหารมักเคยชินกับวิธีการเก่าและไม่ยอมรับอย่างแท้จริง
Budget
งบประมาณ ประมาณการรายได้และรายจ่ายขององค์กรหรือประเทศสำหรับช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต เช่น งบประมาณปีถัดไป
Business cycle
วัฏจักรหรือวงจรทางธุรกิจ ช่วงที่เปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระหว่างช่วงธุรกิจที่เฟื่องฟูกับซบเซา
Capital budgeting
การวางแผนการลงทุนที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนในอนาคต
Capitalism
ระบบทุนนิยม ระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานอยู่ที่การที่เอกชนหรือนายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด โดยการแข่งขันกันในตลาดเสรี
Cash flow
กระแสเงินสด
1) การจัดหาเงินสดที่จำเป็นสำหรับการใช้จ่ายของบริษัทเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน
2) ผลการดำเนินงานของธุรกิจในรูปของเงินสด
Commerce
พาณิชยกรรม การค้าและบริหารที่เกี่ยวกับการค้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการค้าปลีก ค้าส่ง การส่งออกการธนาคารและการประกันภัย
Consumption
การบริโภค การใช้สินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของคน
Deflation
เงินฝืด การที่ระดับราคาของสินค้าโดยทั่วไปหรือปริมาณเงินหมุนเวียนการจับจ่ายใช้สอยลดลง ตรงข้ามกับคำว่า inflationราคาเฟ้อ หรือเงินเฟ้อ บางครั้งระดับราคาอาจไม่ได้ลดลงก็ได้แต่การเติบโตของเศรษฐกิจช้าลง เพราะมีปริมาณเงินหมุนเวียนและการจับจ่ายใช้สอยลดลง
Arab Common Market
1) ข้อมูลเกี่ยวกับผลของการทำงาน เพื่อประกอบการตัดสินใจในอนาคต รวมทั้งเพื่อการแก้ไขปรับปรุง
2) การป้อนข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขหรือควบคุม
Franchise
การที่องค์การหนึ่งให้สิทธิผู้อื่นเป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการในท้องที่หนึ่งเพื่อผลตอบแทนในรูปค่าธรรมเนียมหรือการแบ่งปันผลกำไรกัน
Gross domestic product (GDP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ-มูลค่าสินค้าและบริการของประเทศที่ผลิตโดยผู้ประกอบการภายในประเทศ ไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ
Growth rate
อัตราเจริญเติบโต หรือการเพิ่มของผลผลิตในระบบเศรษฐกิจมักจะวัดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปีที่ผ่านมา
Joint venture
การลงทุนร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นไป
Investment
การลงทุน การนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่ม
ข้อมูลทั่วไปบนเว็บบล็อก
บล็อกนี้จะมีเนื้อหาของคำศัพท์ต่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการตลาดระหว่างประเทศ โดยมีอาจารย์ฐิตารีย์ ธนากร เป็นผู้สอน
ประวัติ
ข้อมูลส่วนตัว
นางสาวจุฑามาศ ธรรมโพธิทอง รหัสนักศึกษา 50132793030
หลักสูตรบริหารธุรกิจ แขนงการตลาด
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)